ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีทูตชาวฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ นิโคลาส์ แชรแวส และ เดอ ลาลูแบร์ ต่างได้พรรณาว่าในเวลานั้นมะละกอได้กลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้วและได้กล่าวถึง กระเทียม มะนาว มะม่วง กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลากรอบ กล้วย น้ำตาล แตงกวา พริกไทย ถั่วชนิดต่างๆ ที่ล้วนสามารถใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้ ขณะเดียวกันได้เขียนว่า ในขณะนั้นสยามไม่มี กะหล่ำปลี และ ชาวสยามนิยมบริโภคข้าวสวย อย่างไรก็ตามไม่มีการกล่าวถึง มะเขือเทศ และ พริกสด แต่อย่างใด
ในปัจจุบัน ส้มตำเป็นอาหารที่แพร่หลายและนิยมรับประทานทุกภาคของประเทศไทย และยังเป็นอาหารไทยที่ขึ้นหน้าขึ้นตาต่อชาวโลกอีกด้วย
*ส้มตำไทย ไม่ใส่ปูและปลาร้า แต่ใส่กุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่วแทน รสชาติออกหวานและเปรี้ยวนำ บางถิ่นอาจใส่ปูดองเค็มด้วย เรียกว่า ส้มตำไทยใส่ปู
*ส้มตำปู ใส่ปูเค็มแทนกุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่ว รสชาติออกเค็มนำ
*ส้มตำปลาร้า ใส่ปลาร้าแทนกุ้งแห้ง นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน
*ตำซั่ว ใส่ทั้งเส้นขนมจีนและเส้นมะละกอ นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน
*ตำโคราช ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและส้มตำปลาร้า คือใส่ทั้งกุ้งและปลาร้า
*ส้มตำไข่เค็ม ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและไข่เค็ม ไม่ใส่ปูดอง ทำให้ส้มตำมีน้ำข้น รสชาติกลมกล่อมพอดี เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบส้มตำเผ็ดจัด
นอกจากนี้ ยังมีบางที่ นำเอาผักหรือผลไม้ดิบ อย่างเช่น มะม่วงดิบ ใส่แทนมะละกอดิบ เรียกว่า "ตำมะม่วง," กล้วยดิบ เรียกว่า "ตำกล้วย," แตงกวา เรียกว่า "ตำแตง," ถั่วฝักยาว เรียกว่า "ตำถั่ว," และแครอทดิบ เป็นต้น ถ้าใช้ผลไม้หลายๆ อย่างเรียกว่า ตำผลไม้
นอกจากนี้ยังมีการใส่วัตถุดิบอย่างอื่นลงไป เช่น ใส่ปูม้าเรียกว่า ส้มตำปูม้า ใส่หอยดองเรียกว่า ส้มตำหอยดอง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ เพลงส้มตำ ขึ้นโดยมีการใส่ท่วงทำนองในรูปแบบเพลงลูกทุ่ง และ ขับร้องโดยนักร้องที่มีชื่อเสียงหลายท่านจนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
อนึ่ง เทียรี่ เมฆวัฒนา ได้แต่งเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึง ส้มตำ ในเพลงชื่อ ปาปาย่า ป๊อก ป๊อก และเป็นเพลงที่ได้รับความนิยม ซึ่งในสมัยสงครามเวียดนาม คำว่า ปาปาย่า ป๊อก ป๊อก นี้เป็นที่รับรู้กันในสังคมว่าหมายถึงส้มตำ แต่มิใช่เป็นคำเรียกส้มตำในภาษาอังกฤษอย่างที่หลายคนเข้าใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น