วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

น้ำค้าง-น้ำค้างแข็ง


น้ำค้าง (Dew)
น้ำค้างเป็นธรรมชาติที่มหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่ง เพราะว่ามันเกิดขึ้นได้ไม่ว่าเป็นฤดูร้อน หนาว ฝน หรือฤดูใบไม้ผลิ ในตอนเช้าตรู่เมื่อเราตื่นขึ้นมาก็จะเห็นหยดน้ำน้ำค้างเกาะอยู่ตามใบหญ้า ใบไม้ และตามโลหะต่าง ๆ เต็มไปหมด เมื่อต้องแสงแดดในตอนเช้าจะทอแสงแวววาวสวยงามน่าดู ยิ่งที่มันเกาะอยู่ตามรังของใยแมงมุมที่ขึงอยู่ตามต้นไม้จะเหมือนกับเพชรเม็ดเล็ก ๆ ร้อยเป็นพวง เป็นตาข่ายเกิดความงามอย่างน่ามหัศจรรย์ น้ำค้างใช่จะเกิดขึ้นเฉพาะเวลากลางคืนหรือเวลาย่ำรุ่งเท่านั้น เพราะแม้แต่ในตอนเย็นก่อนที่พระอาทิตย์ตกดิน บางโอกาสก็เกิดน้ำค้างเกาะอยู่ตามใบหญ้า และใบไม้ด้วยเหมือนกัน
น้ำค้างเกิดขึ้นจากละอองไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ เพราะโดยปรกติแล้ว น้ำมีการระเหยกลายเป็นไอแทรกซึมเข้าไปอยู่ในอากาศได้ทุกขณะ ในเมื่อความชื้นของอากาศยังมีน้อยไม่ถึงจุดอิ่มตัว แต่พออากาศอมเอาไอน้ำไว้ได้มากจนถึงจุดอิ่มตัวแล้ว มันจะไม่ยอมรับไอน้ำที่ระเหยอีกต่อไป นอกจากมันจะได้ "คาย" ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศก่อนแล้วนั้นออกไปเสียบ้าง จุดที่ไอน้ำในอากาศจับตัวเกาะเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ นี้เรียกว่า "จุดน้ำค้าง"(Dew Point) และจุดน้ำค้างนี้ เปลี่ยนแปลงไปได้ตามลักษณะของอุณหภูมิของอากาศ ความกดดัน และ
ปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ
ในบางครั้งหยดน้ำที่เกาะตัวนี้ ยังลอยอยู่ในอากาศเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดฝ้าหนาทึบ เราเรียกว่า "หมอก" ซึ่งเมื่อถูกความร้อนในตอนเช้า หมอกนี้จะค่อยละลาลตัวออกไปเป็นไอน้ำปะปนแทรกซึมอยู่ในอากาศเช่นเดิม
ความชื้นของไอน้ำในอากาศนอกจากจะทำให้เกิดน้ำค้างและหมอกขึ้นแล้ว ยังมีส่วนสัมพันธ์กับอุณหภูมิของลมฟ้าอากาศอีกด้วย วันใดถ้าอากาศมีความชื้นมาก แม้แดดจ้า และมีอุณหภูมิร้อนจัดเช่นอยู่ในฤดูร้อนเป็นต้น เราจะตากผ้าแห้งช้า แต่ตรงกันข้ามถ้าวันใดอากาศมีความชื้นน้อย แม้ฝนจะตกหรือเป็นเวลากลางคืนก็จะตากผ้าแห้งได้เร็ว ช่างน่าประหลาดแท้ ๆ

น้ำค้างแข็ง

น้ำค้างแข็ง (frost) หรือ แม่คะนิ้ง เป็นปรากฎการทางธรรมชาติเมื่อมีอากาศหนาวจัดจะทำให้น้ำค้างที่อยู่บนยอดหญ้าเกิดแข็งตัวเป็นเก็ดน้ำแข็ง(ส่วนมากเกิดบนย่อดดอยในฤดูหนาว)
น้ำค้างแข็ง : ปรากฏการณ์ของการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศโลก
น้ำค้างแข็ง เป็นปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของ บรรยากาศซึ่งจะไม่ปรากฏขึ้นในทุกภาคของประเทศไทย แต่มักจะพบมากในช่วงฤดูหนาวบนยอดดอยในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาถิ่นเหนือเรียกน้ำค้างแข็งว่า เหมยขาบ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า แม่คะนิ้ง
1. ลักษณะทั่วไป : จะมีลักษณะเป็นเกล็ดน้ำแข็งขาวๆ จับตัวตามใบไม้ ยอดหญ้าหรือวัตถุต่างๆใกล้ๆ กับพื้นดิน
2. กระบวนการเกิดปรากฏการณ์การเกิดน้ำค้างแข็ง มี 2 แบบด้วยกัน คือ
2.1 การเกิดน้ำค้างแข็งโดยตรง จะเกิดในช่วงที่อุณหภูมิของอากาศใกล้ผิวโลกลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง
2.2 การเกิดน้ำค้างแข็งโดยอ้อม เกิดเมื่ออุณหภูมิอากาศลดต่ำลงโดยมีปริมาณความชื้นใกล้พื้นดินสูง
3 .สถานที่ปรากฏการณ์ของการเกิดน้ำค้างแข็งในประเทศไทย : มักจะเกิดบนดอยหรือภูเขาสูงในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และเลย


น้ำค้างแข็ง (frost) หรือ แม่คะนิ้ง
น้ำจากฟ้าที่มาพร้อมกับความหนาว


น้ำค้างแข็ง หรือ แม่คะนิ้ง ในภาษาอีสาน และ เหมยขาบ ในภาษาพื้นเมืองเหนือ จะเกิดขึ้นจากไอน้ำในอากาศที่ใกล้ๆกับพื้นผิวดินลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดน้ำค้าง จากนั้นก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ โดยอุณหภูมิยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงจุดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง น้ำค้างก็จะเกิดการแข็งตัวกลายเป็นน้ำค้างแข็ง เกาะอวดโฉมตามยอดไม้ใบหญ้า ทว่าการเกิดแม่คะนิ้งนี้ มันอาจจะน่าสนใจสำหรับใครหลายๆคน เพราะว่ามันช่างแสดงถึงความหนาวเย็น เป็นเกล็ด ดูน่ามอง แต่ว่าจริงๆแล้ว การเกิดแม่คะนิ้งถือว่าสร้างความเสียหายให้แก่ พืชผักต่างๆเป็นจำนวนมาก โดยจะทำให้ข้าวที่กำลังออกรวงมีเมล็ดลีบ ส่วนพืชไร่ก็จะชะงักการเจริญเติบโต พืชผักก็จะมีใบหงิกงอ ไหม้เกรียม ส่วน ผลไม้อย่างกล้วย ทุเรียน มะพร้าวก็จะมีใบแห้ง และร่วงลงในที่สุด ซึ่งหากแม่คะนิ้งเกิดติดต่อกันยาวนาน ถือว่าชาวนา ชาวไร่ ชาวสวนเดือดร้อนแน่นอน สำหรับคนที่อยากชมแม่คะนิ้ง ในเมืองไทยปีไหนที่หนาวมากๆ ก็สามารถลุยความหนาวขึ้นไปดูได้ตามยอดดอยในภาคเหนือ และภาคอีสาน เนื่องจากเป็นที่ที่มีอากาศเย็นจัด โดยที่มีคนเห็นกันบ่อยๆก็ที่ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ และ ภูเรือ จ.เลย ซึ่งส่วนมากแม่คะนิ้งจะเกิดในช่วงปลายเดือน



เตือนภัยจากน้ำค้างแข็ง


สภาพอากาศในช่วงสัปดาห์นี้ มีอากาศหนาวเย็นมากขึ้น เพราะมีมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงเข้าปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย คาดว่าความกดอากาศสูงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาเสริมอีก ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 ทำให้ประเทศไทยมีอากาศหนาวเย็นต่อไป กับมีน้ำค้างแข็ง หรือที่เรียกกันว่า “แม่คะนิ้ง” หรือ “เหมยขาบ” ขึ้นตามยอดดอย โดยเฉพาะทางภาคเหนือของประเทศ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงขอเตือนประชาชนโดยเฉพาะเกษตรกรให้ระมัดระวังน้ำค้างแข็ง ที่อาจสร้างอันตรายและความเสียหายกับพืชผลทางการเกษตร ดังนี้ โดยปกติเวลาที่น้ำจะกลายเป็นน้ำแข็งนั้น จะเริ่มจากการแข็งตัวขึ้นที่บริเวณผิวน้ำก่อน ซึ่งยังนับว่าเป็นผลดีต่อทั้ง พืชและสัตว์ แต่ถ้าหากก่อตัวขึ้นที่บริเวณก้นท้องน้ำก่อน ก็จะทำให้สัตว์ที่อยู่ในน้ำแข็งตาย ส่วนพืชที่อยู่ในน้ำก็จะตายได้ เช่นกัน เพราะความหนาวเย็นนั่นเอง และสำหรับพืชผลทางการเกษตร น้ำค้างแข็งจะทำให้ข้าวที่กำลังออกรวงมีเมล็ดลีบ พืชไร่ชะงักการเจริญเติบโต พืชผักใบจะหงิกงอไหม้เกรียม กล้วย มะพร้าว และทุเรียน ใบจะแห้งและร่วง ซึ่งจะสร้าง ความเสียหายมากขึ้น หากเกิดน้ำค้างแข็งติดต่อกันหลายวัน ดังนั้น เกษตรกรควรสร้างสิ่งปกคลุมป้องกันน้ำค้างแข็ง โดยให้นำพลาสติกมาหุ้มพืชผลที่กำลังออกดอกออกผลหรือกางมุ้งปกคลุมทั้งต้นไว้ เพื่อป้องกันมิให้ไอน้ำในอากาศกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกาะตามพืชผล นอกจากนี้ยังพบว่า น้ำค้างแข็งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนน หากมีน้ำค้างแข็งเกาะอยู่บนผิวถนนที่เปียก หรือตามถนนที่เป็นหลุม เป็นบ่อ หรือเป็นแอ่ง ก็จะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ นอกจากจะวังภัยจากน้ำค้างแข็งในฤดูหนาวแล้ว เกษตรกรควรระมัดระวังการแพร่ระบาดของเชื้อโรคที่เกิดจากแมลง และสัตว์ปีก เช่น โรคไข้หวัดนก เพราะเชื้อโรคสามารถแพร่พันธุ์ได้ดีในช่วงฤดูหนาว และควรระมัดระวังการการเกิดไฟป่า อันเกิดจากการจุดไฟเผาหญ้า เพราะอาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ลุกลาม รวมทั้งควันไฟอาจทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ของผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ดี ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้รถใช้ถนนได้ และยังทำให้ดินสูญเสียความชุ่มชื้นและอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อดินได้ สุดท้ายนี้ เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว เกษตรกรควรเพิ่มความเอาใจใส่และดูแลพืชผลที่ตนเองปลูกไว้ให้มากขึ้น รวมทั้งควรร่วมกันตรวจตรา หากพบสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับพืช ผลในไร่สวนของตนเอง ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่เกษตรที่อยู่ในพื้นที่ทราบทันที และควรเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาให้ทางราชการทราบ เพื่อจะได้หาวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องและเร่งด่วนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น